หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ทักษะชีวิต
ทักษะชีวิต
มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือ พัฒนา “คน” ต้องทำเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิตนับตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา สู่วัยเด็กวัยรุ่น วัยทำงานและวัยชราโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่จะต้องปลูกฝังและต้องสร้างคุณค่าให้กับตนเองและเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ และในขณะเดียวกันก็จะได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคต
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้กำหนดแนวทางการเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับผู้เรียนในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาให้เกิดความตระหนักรู้ เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น การคิดวิเคราะห์กระบวนการตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การจัดการกับอารมณ์ ความเครียดและการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งเป็นองค์ประกอบของทักษะชีวิตที่ช่วยให้เด็กและเยาวชนมีพื้นฐานด้านอุปนิสัยที่ดีสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดีและมีความสุข
องค์ประกอบของทักษะชีวิต
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดองค์ประกอบทักษะชีวิตที่สำคัญที่จะสร้างและพัฒนาเป็นภูมิคุ้มกันชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชนในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตไว้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1. การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น หมายถึง การรู้จักความถนัดความสามารถ จุดเด่น จุดด้อยของตนเอง เข้าใจความแตกต่าง ของแต่ละบุคคล รู้จักตนเอง ยอมรับเห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น มีเป้าหมายในชีวิต และมีความรับผิด
2. การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค
การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร ปัญหาและสถานการณ์รอบตัว วิพากษ์วิจารณ์ และประเมินสถานการณ์รอบตัวด้วยหลักเหตุผลและข้อมูลที่ถูกต้องรับรู้ปัญหา สาเหตุของปัญหา หาทางเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหาใน สถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์
3. การจัดการกับอารมณ์และความเครียด
การจัดการกับอารมณ์และความเครียด หมายถึง ความเข้าใจและรู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของบุคคลรู้สาเหตุของความเครียด รู้วิธีการควบคุม อารมณ์และความเครียด รู้วิธีผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ไม่พึงประสงค์ไปในทางที่ดี
4. การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น หมายถึง การเข้าใจมุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น ใช้ภาษาพูดและภาษากาย เพื่อสื่อสารความรู้สึก นึกคิดของตนเอง รับรู้ความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของผู้อื่น วางตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ ใช้การสื่อสารที่สร้าง สัมพันธภาพที่ดีสร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข์
ทักษะชีวิตเป็นความสามารถที่เกิดในตัวผู้เรียนได้ด้วยวิธีการสำคัญ 2 วิธี คือ
1. เกิดเองตามธรรมชาติ
เป็นการเรียนรู้ที่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และการมีแบบอย่างที่ดี แต่การเรียนรู้ตามธรรมชาติจะไม่มีทิศทางและเวลาที่แน่นอน บางครั้งกว่าจะเรียนรู้ก็อาจสายเกินไป
2. การสร้างและพัฒนาโดยกระบวนการเรียนการสอน
เป็นการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มผ่านกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ได้ลงมือปฏิบัติ ได้ร่วมคิดอภิปรายแสดงความคิดเห็น ได้แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ได้สะท้อน ความรู้สึกนึกคิดมุมมองเชื่อมโยงสู่วิถีชีวิตของตนเองเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และปรับให้กับชีวิต
การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น หมายถึง การรู้จักความถนัดความสามารถ จุดเด่น จุดด้อยของตนเอง เข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล รู้จักตนเอง ยอมรับ เห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น มีเป้าหมายในชีวิต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร ปัญหา และสถานการณ์รอบตัว วิพากษ์วิจารณ์และประเมินสถานการณ์รอบตัวด้วยหลักเหตุผลและข้อมูลที่ถูกต้อง รับรู้ปัญหา สาเหตุของปัญหา หาทางเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์
การจัดการกับอารมณ์และความเครียด หมายถึง ความเข้าใจและรู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของบุคคล รู้สาเหตุของความเครียด รู้วิธีการควบคุมอารมณ์และความเครียด รู้วิธีผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ไม่พึงประสงค์ไปในทางที่ดี
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น หมายถึง การเข้าใจมุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น ใช้ภาษาพูดและภาษากาย เพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิดของตนเอง รับรู้ความรู้สึกนึกคิดและ ความต้องการของผู้อื่น วางตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ ใช้การสื่อสารที่สร้างสัมพันธภาพที่ดี สร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ทักษะการฟัง Listening
เป็นทักษะที่ผู้ให้คำปรึกษาแสดงความเอาใจใส่ต่อภาษาพูดและภาษาท่าทางของผู้รับคำปรึกษาโดยการประสานตาพยักหน้าหรือการตอบรับเช่นค่ะ ครับอ้อใช่ถูกต้องอืมยังงั้นหรือการฟังอย่างมีประสิทธิภาพผู้ให้คำปรึกษาควรฝึกฝนดังนี
ฟังด้วยความตั้งใจโดยการประสานสายตาเพื่อแสดงความใส่ใจทั้งเนื้อหาสาระ ความรู้สึก รวมทั้งสังเกตท่าทางน้ำเสียงของผู้รับคำปรึกษา /ไม่แทรกหรือขัดจังหวะยกเว้นผู้รับคำปรึกษาพูดมากวกวนจึงใช้การสรุปประเด็นปัญหาให้เข้าใจขึ้น /ไม่เปลี่ยนเรื่องและติดตามประเด็นปัญหาของผู้รับคำปรึกษาไม่แสดงอาการรีบมองดูนาฬิกา
ทักษะการถาม( Questioning)
การถามเป็นทักษะที่จำเป็นที่จะได้ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ของผู้รับคำปรึกษา รวมทั้งอารมณ์ ความรู้สึก และเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดซึ่งจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไปคำถามแบ่งออกเป็น 2 ชนิ
คำถามปลายเปิดถามเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างละเอียดของผู้รับคำปรึกษา /เช่นวันนี้มีเรื่องอะไรที่จะเล่าให้เราฟังบ้างล่ะ /เธอคิดอย่างไรกับการที่ไม่ยอมพูดกับคุณพ่อ /เธอพอจะเล่ารายละเอียดเหตุการณ์วันนั้นให้ฟังหน่อยซิ /ต้อมคิดอย่างไรจึงตบหน้าเขา
คำถามปลายปิด
เป็นคำถามที่ใช้เมื่อต้องการคำตอบเฉพาะเจาะจงมักจะได้คำตอบสั้นๆไม่ได้ข้อมูลรายละเอียด คำถามประเภทใช่/ไม่ใช่ ดี/ไม่ดี ถูก/ผิดเป็นต้น คำตอบก็จะตอบเพียงสั้นๆ เช่นกันเพียง แค่ค่ะใช่ดี ไม่ใช่ เช่น เธอไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์หรือ /กิ่งชอบอยู่นั่งอยู่คนเดียวใช่ไหม /คุณแม่เธอจู้จี้ขี้บ่นทุกวันหรือเปล่า /เธอชอบไปนอนค้างบ้านเพื่อนใช่ไหม
ข้อควรระวังการใช้คำถามที่ขึ้นต้นด้วย ทำไม มักไม่นิยมใช้ในการให้คำปรึกษาเพราะจะเป็นลักษณะการประเมินหรือตัดสินผู้อื่นมากไป เช่น ทำไมเธอจึงเป็นคนแบบนี้ ฟังแล้วอาจทำให้เกิดการต่อต้าน
ทักษะการเงียบ(Silence)
เป็นทักษะที่นำมาใช้ขณะที่ผู้รับคำปรึกษากำลังพูดและสนับสนุนให้เขาพูดไปเรื่อยๆผู้ให้คำปรึกษาเพียงแต่แสดงสีหน้าและกิริยาท่าทาง ว่ากำลังสนใจฟัง ด้วยการพยักหน้า ประสานสายตาแต่ถ้าผู้รับคำปรึกษาเงียบนานเกินไป ก็ควรใช้คำพูดกระตุ้น เช่น b ขณะนี้เธอรู้สึกอย่างไรb ก้อยกำลังคิดอะไรอยู่หรือ ทักษะการให้กำลังใจ(Assurance) เป็นทักษะที่ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้สึกที่ดีต่อผู้รับคำปรึกษา เกิดความเข้าใจ กระจ่างชัด คลายความวิตกกังวลเกิดความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตนเองทักษะการสรุปความ(Summarization)เป็นการสรุปประเด็นและสาระในสิ่งที่พูดคุยกัน หรือใจความสำคัญทั้งหมดของความคิด อารมณ์ ความรู้สึกที่ผู้ขอรับคำปรึกษาสื่อออกมาด้วยภาษาพูด และภาษาท่าทาง เพื่อผู้สนทนามีความเข้าใจที่ตรงกันและชัดเจนขึ้น
https://sites.google.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น